ประวัติตำบลสากอ

สารบัญ

ประวัติหมู่บ้าน
ม.1 บ้านตือระ, ม.2 บ้านบอเกาะ, ม.3 บ้านบาโงมาแย, ม.4 บ้านสากอ, ม.5 บ้านลาโล๊ะ, ม.6 บ้านกลูบี 
ม.7 บ้านสือแด, ม.8 บ้านยะลูตง, ม.9 บ้านจือแร, ม.10 บ้านตันหยง, ม.11 บ้านบาโงยือริง, ม.12 บ้านยรายอ 

ประวัติตำบลสากอ

ความเป็นมา

            เดิมพื้นที่ตำบลสากอเป็นพื้นที่ป่าที่อุดมสมบูรณ์ด้วยหลากหลายพืชพรรณ แต่มีพืชพรรณชนิดหนึ่งที่มีอยู่ในแถวป่าบริเวณนี้ คือ หวาย ซึ่งมีหวายชนิดนี้มีเป็นจำนวนมาก มีลักษณะเหนียว ทนทาน เป็นหวายที่มีคุณสมบัติในการจัดสาน มีชื่อว่า “ หวายซือกอ ” 
              จากคำบอกเล่าว่าได้มีชาวบ้านกลุ่มหนึ่ง ถางป่าที่นี้เพื่อทำเป็นที่อยู่อาศัยและทำการเพาะปลูก จึงตั้งชื่อหมู่บ้านนี้ว่า “ บ้านซือกอ ” ต่อมาได้แผลงเป็น “ บ้านสากอ ” และได้ตั้งชื่อเป็นตำบลจนถึงปัจจุบัน บ้านสากอได้ชื่อว่าเป็นหมู่บ้านที่มีความเจริญอีกหมู่บ้านหนึ่งของอำเภอสุไหงปาดี โดยมีหลักฐานจากการสร้างบ้านเรือนเป็นห้องแถวยาวคล้ายกับอาคารพาณิชย์ในปัจจุบัน ซึ่งอาคารบ้านเรือนดังกล่าวยังมีร่องรอยที่แสดงให้เห็นจนถึงปัจจุบัน มีสภาพเป็นบ้านเรือนที่ติดยาวเป็นแถวสร้างด้วยไม้ที่มีรูปทรงแบบโบราณแสดงถึงความเจริญของหมู่บ้านในเรื่องเศรษฐกิจ จากคำบอกเล่าของคนในหมู่บ้านว่า บริเวณนี้จะเป็นศูนย์ติดต่อค้าขายของคนจำนวนมาก ทั้งมาจากอำเภอแว้ง และอำเภอสุไหงปาดีในปัจจุบัน สินค้าที่นำมาแลกเปลี่ยนค้าขาย ได้แก่ ยางพารา ข้าวสาร ผลไม้ และของใช้ที่จำเป็นในการดำเนินชีวิตของคนในตำบล สากอ และบริเวณใกล้เคียง 
             ประชากรในอดีตของตำบลสากอมีหลากหลายเชื้อชาติ เช่น เชื้อชาติไทย เชื้อชาติจีน หรือแม้กระทั้งมาเลย์ ส่วนใหญ่คนจีนจะมีอาชีพค้าขายรับซื้อยางส่วนคนไทยมีอาชีพทำสวนยาง ทำสวนผลไม้ความสัมพันธ์ของคนเชื้อชาติทั้งหมดขึ้นอยู่กับการค้าขาย ถึงแม้ว่าบ้านสากอมีความเจริญทางด้านเศรษฐกิจแต่การคมนาคมยังไม่สะดวกเหมือนกับปัจจุบัน ในอดีตการเดินทางของคนในตำบลสากอยังต้องเดินเท้าเพื่อเพื่อไปยังตัวอำเภอในปัจจุบัน ใช้เวลาเป็นวันๆ และยังคงต้องพกพาอาหารในระหว่างการเดินทาง โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนการเดินทางยังคงลำบากหนักขึ้นกว่าเดิม มีการพักแรมระหว่างทางเนื่องถนนหนทางยังไม่มี ต้องมีการเดินลัดเลาะป่า สวนยางสวนผลไม้ ถนนหนทางเริ่มเข้าประมา ปี พ.ศ. 2534 
              นอกจากนี้บางในอดีตพื้นที่ของตำบลสากอ ยังมีการเคลื่อนไหวของโจรจีนคอมมิวนิสต์ (จคม.)ที่สร้างความลำบากและความยุ่งยากในการใช้ชีวิตของชาวบ้าน เนื่องจากพื้นที่ตำบลสากอบางหมู่บ้านเป็นพื้นที่ป่าติดับอำเภอสุคิริน ซึ่งมีพรหมแดนติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน คือ ประเทศมาเลเซีย ทำให้ทางการยากแก่การปราบปรามกลุ่มก่อการร้ายเหล่านี้ได้ ดังนั้นบางพื้นที่ของตำบลสากอในอดีต จึงมีค่ายทหารมาตั้งประจำการเพื่อทำการปราบผู้ก่อการร้าย และมีการปะทะกันเสมอมา ทำให้ชาวบ้านจะเป็นต้องอพยพออกจากหมู่บ้านเพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 
              จากการบอกเล่าของชาวบ้านถึงเหตุการณ์ที่มาให้ตำบลสากอเกิดความเสียหายและยากแก่การฟื้นฟูนคือ เหตุการณ์ไฟไหม้จุดศูนย์กลางของหมู่บ้าน คือยานตลาดที่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของชาวบ้าน เป็นแหล่งซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าจากผู้คนและสินค้าที่มาจากแหล่งต่างๆ จากเหตุการณ์ในครั้งนี้ทำให้ตำบลสากอต้องหยุดชะงักความเจริญเนื่องจากผู้คนที่เคยอาศัยอยู่มากต้องย้ายถิ่นฐานออกจากตำบลสากอ การแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้าที่เคยมีผู้คนผุกผล่านกลับเงียบเหงา 
              ปัจจุบันตำบลสากอ เป็นตำบลสากอหนึ่งที่มีความเป็นมาที่น่าสนใจทั้งทางด้านการเมือง สังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม เป็นชุมชนที่มีความพร้อมในการพัฒนาศักยภาพของตัวเอง เนื่องจากเป็นตำบลที่มีความพร้อมในหลายๆด้าน ในการพัฒนาตนเองให้เป็นตำบลที่มีตำบลความเจริญในทุกๆด้าน

 
ชุมชนตลาดสากอ
แนวเขา บูโด-สุไหงปาดี
วิวเขากูบาฆูลิง
พันธุ์หวายชนิดหนึ่ง "หวานซือกอ"
 

 

ที่ตั้ง และขนาด

          ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 บ้านสากอ องค์การบริหารส่วนตำบลสากอ เดิมเป็นสภาตำบลตามพรบ.สภา
ตำบลสากอและองค์การบริหารส่วนตำบลสากอ พ.ศ. 2537 เมื่อ เดือน มีนาคม พ.ศ. 2539 มีพื้นที่ 48.64  ตร.ม.หรือประมาณ 30.398.75 ไร่ ตำบลสากอเป็นตำบล 1ใน 6 ตำบลของอำเภอสุไหงปาดีหางจากอำเภอสุไหงปาดี ทางตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 9 กิโลเมตรตามเส้นทาง 4193. 
  
อาณาเขต

  • ทิศเหนือ           ติดต่อกับตำบลกาวะ , ตำบลริโก๋ อำเภอสุไหงปาดี และ ตำบลผดุงมาตร
                           อำเภอจะแนะ
  • ทิศใต้               ติดต่อกับตำบลเอราวัณ และตำบลกายูคละ อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส
  • ทิศตะวันออก      ติดต่อกับตำบลกาวะ และตำบลริโก๋ อำเภอสุไหงปาดี
  • ทิศตะวันตก        ติดต่อกับตำบลร่มไทร และตำบลเกียร์ อำเภอสุคิริน

เขตการปกครอง
      แบ่งการปกครอง   ออกเป็น  12  หมู่บ้าน คือ   

หมู่ที่ 1   บ้านตือระ         
หมู่ที่ 2   บ้านบอเกาะ    
หมู่ที่ 3   บ้านบาโงมาแย
หมู่ที่ 4   บ้านสากอ      
หมู่ที่ 5   บ้านลาโล๊ะ
หมู่ที่ 6   บ้านกลูบ  

หมู่ที่ 7   บ้านสือแด
หมู่ที่ 8   บ้านยะลูตง 
หมู่ที่ 9   บ้านจือแร 
หมู่ที่ 10 บ้านตันหยง
หมู่ที่ 11 บ้านบาโงยือริง
หมู่ที่ 12 บ้านสรายอ

ประชากร
                     ประชากรปัจจุบัน ตำบล มีประชากรรวม   ทั้งสิ้น  11,062 คน แยกเป็นชาย 5,391  คน  หญิง 5,671 คน   จำนวนครัวเรือน 2,351  ครัวเรือน (สถิติ เดือนกันยายน 2560)

                                  นับถือศาสนาอิสลาม             98  %
                                  นับถือศาสนาพุทธ                   2  %

 


 

ลักษณะภูมิประเทศ ทรัพยากรธรรมชาติ และแหล่งท่องเที่ยว
          ลักษณะภูมิประเทศเป็นราบลุ่มในบางพื้นที่ พื้นที่ลาดชัน ลักษณะภูมิอากาศโดยทั่วไปของตำบลสากอโดยเฉลี่ยประมาณ 29 องศาเซลเซียส  ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ และมีฝนตกชุกในเดือน พฤศจิกายน - เดือนธันวาคม มีน้ำท่วมฉับภลันในพื้นที่ราบลุ่ม
          *ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ตำบลสากอ มีพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ได้แก่
                - ป่าบูเก๊ะตาแว , น้ำตกสายรุ้ง , สายน้ำมาแย
          *ตำบลสากอ มีแหล่งน้ำธรรมชาติที่เป็นต้นกำเนิดขิงสายน้ำ เช่น
                - สายน้ำสือแด , สายน้ำตือระ ต้นน้ำอยู่หมู่ที่ 1 บ้านตือระ , หมู่ที่ 5 บ้านลาโล๊ะ

สภาพทางเศรษฐกิจ
        ประชากรส่วนใหญ่ของตำบลสากอ ประกอบอาชีพ ดังนี้
            * สาวนยางพารา คิดเป็นร้อยละ  32.90
            * สวนผลไม้คิดเป็นร้อยละ         30
            * ทำนา คิดเป็นร้อยละ              26.54
            * และอาชีพอื่นๆคิดเป็นร้อยละ   10.36
           

หน่วยธุรกิจในเขต  อบต.
            * ธนาคาร...........................แห่ง
            * โรงแรม............................แห่ง
            * ปั้มน้ำมันและก๊าซ...............แห่ง
            * โรงงานอุตสาหกรรม...........แห่ง
            * โรงสี.......................3…....แห่ง

สภาพสังคมและศาสนา
       การศึกษา
            * โรงเรียนประถมศึกษา.............6....แห่ง
            * โรงเรียนมัธยมศึกษา..............2....แห่ง
            * โรงเรียนอาชีวศึกษา....................แห่ง
            * โรงเรียน/สถาบันชั้นสูง.................แห่ง
            * โรงเรียนเอกชนสอนศาสนา... ..3...แห่ง
            * โรงเรียนตาดีกา....................12...แห่ง
            * ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก.................3...แห่ง
            * ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู้บ้าน/ห้องสมุดประชาชน.......12.........แห่ง

สถาบันและองค์กรทางศาสนา
            * วัด/สำนักสงฆ์................................แห่ง
            * มัสยิด............................12...........แห่ง
            * มัดราเซาะห์....................15...........แห่ง
            * ศาลเจ้า........................................แห่ง
            * โบสถ์...........................................แหง

Untitled Document
คลิกที่นี่ คลิกที่นี่ คลิกที่นี่ คลิกที่นี่ คลิกที่นี่